เมนู

เป็นต้นซึ่งได้อยู่ที่เหลือ กับติกะหนึ่ง ๆ ที่ได้อยู่ในติกะทั้งหลาย วาระเหล่านั้น
แม้ทั้งหมดตรัสไว้ในพระบาลี ทรงย่อแสดงที่ควรแสดงในที่นั้น ๆ ก็อันบุคคล
ผู้มิให้ฟั่นเฝือควรทราบโดยพิสดาร.
ในอุภโตวัฑฒิตกวาร ตรัสว่ามีวาระ 19 วาระคือมีวาระประกอบ
ติกะที่หนึ่งกับทุกะที่สองเป็นต้นประกอบติกะ 19 ที่ได้อยู่ด้วยทุกะทั้งหลาย 19
ที่ได้อยู่โดยกระทำทุกะที่สองในประเภทเวทนาหมวดละสอง และปฐมติกะแม้ใน
ประเภทเวทนาหมวดละสามให้เป็นต้น นี้เป็นมหาวาระที่สาม ชื่อว่า อุภโต-
วัฑฒิตกวาร เพราะยังทุกะทั้งสองด้วยอำนาจแห่งทุกะและติกะให้เจริญแล้ว.
ในนิเทศแห่งเวทนาหมวดละ 7 ของพหุวิธวาร ตรัสวาระว่าด้วย
เวทนาหมวดละ 7 อย่าง ไว้ 19 วาระ ประกอบกับภูมิ 4 พร้อมกับติกะ 19
ที่ได้อยู่แต่ละติกะ จำเดิมแต่ต้น. แม้ในนิเทศแห่งเวทนาหมวดละ 24
ก็ตรัสวาระ 19 วาระ ด้วยอำนาจติกะเหล่านั้นนั่นเอง ในพหุวิธวาร (ว่าด้วย
เวทนาขันธ์หมวดละมากอย่าง) ก็ตรัสไว้อย่างนั้น. วาระว่าด้วยเวทนาหมวดละ
30 เป็นชนิดเดียวเท่านั้น เพราะฉะนั้น วาระแม้ทั้งหมดจึงเป็น 58 วาระ
นี้เป็นการพรรณนาพระบาลีในเวทนาขันธ์ด้วยสามารถการกำหนดวาระก่อน.

ว่าด้วยพรรณาอรรถในเวทนาขันธ์


บัดนี้ เป็นการพรรณนาอรรถเวทนาขันธ์ นิเทศแห่งเวทนาหมวดละ
7 ในเวทนาขันธ์นั้นมีเนื้อความง่ายทั้ง ในนิเทศแห่งเวทนาขันธ์หมวดละ
24 บัณฑิตพึงทราบว่า เวทนาขันธ์ที่เป็นกุศลมีอยู่ เพราะจักขุสัมผัสเป็น
ปัจจัย ด้วยอำนาจกามาวจรกุศลจิต 8 ดวง พึงทราบเวทนาขันธ์ที่เป็นอกุศล
ด้วยอำนาจอกุศลจิต 12 ดวง. พึงทราบเวทนาขันธ์ที่เป็นอัพยากฤต ด้วยจิต
2 ดวง คือ มโนธาตุ 3 อเหตุกมโนวิญญาณธาตุ 3 มหาวิบาก 8 และ
กามาวจรกิริยา 10.

ในบรรดาจิตเหล่านั้น กุศลจิต 8 และอกุศลจิต 12 ย่อมได้ (คือ
เป็นไป) ด้วยอำนาจชวนะ กิริยามโนธาตุ ย่อมได้ด้วยอำนาจอาวัชชนะ
มโนธาตุวิบาก 2 ย่อมได้ด้วยอำนาจสัมปฏิจฉันนะ มโนวิญญาณธาตุที่เป็น
วิบาก 3 ย่อมได้ด้วยอำนาจสันติรณะและตทาลัมพนะ. กิริยาอเหตุกมโน-
วิญญาณธาตุ 1 ย่อมได้ด้วยอำนาจโวฏฐัพพนะ มหาวิบากจิต 8 ย่อมได้ด้วย
อำนาจตทาลัมพนะ กิริยาจิต 9 ย่อมได้ด้วยอำนาจชวนะ. แม้ในโสต ฆานะ
ชิวหา และกายทวาร ก็นัยนี้แล.
ก็บทว่า อตฺถิ กุสโล (เป็นกุศลก็มี) นี้ตรัสไว้ด้วยอำนาจกุศลที่
เป็นไปในภูมิ 4. บทว่า อตฺถิ อกุสโล (เป็นอกุศลก็มี) ตรัสไว้ด้วยอำนาจ
อกุศล 12. บทว่า อตฺถิ อพฺยากโต (เป็นอัพยากฤตก็มี) ตรัสไว้ด้วย
อำนาจจิตตุปบาท 34 คือ กามาวจรวิบาก 11 กิริยา 10 รูปาวจรกิริยา
และอรูปาวจรกิริยา 9 และสามัญญผล 4.
บรรดาจิตตุปบาทเหล่านั้น กุศลจิตที่เป็นไปในภูมิ 4 (21 ประเภท)
และอกุศลจิต (12 ประเภท) ย่อมได้ (คือย่อมเป็นไป) ด้วยอำนาจชวนะ
อเหตุกมโนวิญญาณธาตุที่เป็นกิริยาย่อมได้ด้วยอาวัชชนะ 1. วิปากจิต 11
ย่อมได้ด้วยอำนาจตทาลัมพนะ กิริยาจิตที่เป็นไปในภูมิ 3 (คือที่เป็นกามาวจร
9 ที่เป็นไปในรูปาวจรารูปวจร 9) และสามัญผล 4 ย่อมได้ด้วยอำนาจชวนะ
จิตตุปบาทเหล่านั้นสมควรเพื่อจะตั้งไว้กล่าวในเวทนาขันธ์ทั้งหลายมีเวทนาขันธ์
หมวดละ 7 เป็นต้นอย่างใดอย่างหนึ่ง แต่ว่าพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงตั้งจิต
เหล่านั้นไว้ในเวทนาหมวดละ 7 แสดงอยู่ เป็นการแสดงได้โดยง่าย เพราะ
ฉะนั้น จึงทรงตั้งจิตเหล่านั้นแสดงเวทนาหมวดละ 30 เท่านั้น.
ก็จิตในจักขุทวาร (มีจำนวน 44 ดวง) เหล่านั้นแม้ทั้งหมด ย่อมได้
ด้วยอาการ 3 คือ ด้วยอุปนิสสยโกฏิ (เงื่อนของอุปนิสสัย) 1 ด้วยอำนาจ

การก้าวล่วง (กิเลส) 1 ด้วยอำนาจภาวนา 1 ในโสตทวารและมโนทวาร
ก็ย่อมได้ด้วยอาการ 3 เหมือนอย่างนั้น แต่ฆานะ ชิวหา และกายทวาร
พึ่งทราบว่า ย่อมได้ด้วยอาการ 2 อย่าง คือ ด้วยอำนาจการก้าวล่วง และ
ด้วยอํานาจภาวนา.

ว่าด้วยอาการ 3


ย่อมได้ด้วยอาการ 3 เป็นอย่างไร ?
คือ ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้เที่ยวจาริกไปยังวิหารเห็นมณฑลกสิณ
จึงถามว่ นี้ชื่ออะไร เมื่อเขาตอบว่า มณฑลกสิณดังนี้ จึงถามอีกว่าพวกเขา
ทำอะไรด้วยมณฑลกสิณนี้ ที่นั้นพวกภิกษุจึงบอกแก่เธอว่า พวกภิกษุเจริญ-
มณฑลกสิณนี้ยังฌานทั้งหลายให้เกิดแล้ว เจริญวิปัสสนามีสมาบัติเป็นบาทแล้ว
บรรลุพระอรหัต ดังนี้กุลบุตร (ผู้บวชด้วยศรัทธา) จึงพร้อมด้วยความตั้งใจ
มิได้กำหนดว่า นี้เป็นภาระหนัก มีความคิดว่า แม้เราก็ควรยังคุณนี้ให้เกิดขึ้น
ดังนี้ จึงคิดว่า ถึงคุณนี้อันบุคคลผู้นอนหลับ ไม่อาจเพื่อจะให้เกิดได้
เราควรทำความเพียรชำระศีลให้หมดจดตั้งแต่เบื้องต้น
ดังนี้ จึงยังศีล
ให้หมดจด ต่อจากนั้น ก็ตั้งมั่นในศีล ตัดปลิโพธ 10 เป็นผู้สันโดษยินดีด้วย
ไตรจีวรเป็นอย่างยีง ทำวัตรปฏิบัติต่อพระอาจารย์และอุปัชฌาย์ เรียนกรรมฐาน
กระทำกสิณบริกรรม ยังสมาบัติให้เกิดแล้วเจริญวิปัสสนามีสมาบัติเป็นปทัฏฐาน
แล้วบรรลุพระอรหัต. ในการบรรลุพระอรหัตนั้น จักขุวิญญาณเป็นปัจจัย
ที่มีกำลังก็การเกิดเวทนาเป็นไปในภูมิ 4 อย่างนี้ คือ เวทนาในการบริกรรม
แม้ทั้งหมดเป็นกามาพจร เวทนาในสมาบัติ 8 เป็นรูปาพจรและอรูปาพจร
เวทนาในมรรคและผลเป็นโลกุตระ เพราะฉะนั้น เวทนาที่เป็นไปในภูมิ 4